7/398 Vipawadee 19 Vipawadee Rangsit Road Chatuchak, Chatuchak Bangkok 10900
Always Open (24/7 Service)
รถรับส่งโควิด

โควิด-19 จะจบเมื่อไหร่ และอยู่กับเราไปอีกนานแค่ไหน?

สถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ที่ยังคงมีการปะทุของยอดผู้ติดเชื้ออยู่เป็นระลอกและจำนวนผู้ป่วยทั่วโลกที่เพิ่มสูงกว่า 250 ล้านรายในปัจจุบัน ทำให้เราไม่สามารถบอกได้ว่าโควิด-19 จะอยู่กับเราได้อีกนานแค่ไหน แม้กระทั่งล่าสุด “โอไมครอน” โควิดกลายพันธุ์ชนิดใหม่ที่ถูกค้นพบในประเทศแถบแอฟริกาใต้ ซึ่งทำให้หลายประเทศกลับมาเริ่มจำกัดการเดินทางเข้าประเทศและเข้มงวดกับการกักตัวมากขึ้น เหล่านักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบาดทั่วโลกส่วนใหญ่ให้ความเห็นคล้ายคลึงกันว่า เชื้อไวรัสโคโรน่า หรือ โควิด-19 จะยังคงอยู่กับเราไปอีกนาน

แนวโน้มการระบาดทั่วโลกยังคงมีอยู่

แม้ดูเหมือนว่าสถานการณ์ของโรคโควิด-19 จะเริ่มกลายเป็นเรื่องปกติธรรมดาขึ้นทุกวัน หลายประเทศเริ่มกลับมาใช้ชีวิตปกติได้ แต่ในหลายประเทศก็มีข่าวยอดผู้ติดเชื้อกลับมาสูงขึ้นอย่างน่าตกใจ ไม่ว่าจะเป็นประเทศจีน เกาหลีใต้ และหลายประเทศในทวีปยุโรป ที่กำลังเผชิญหน้ากับการระบาดระลอกใหม่เกิดขึ้นเรื่อยๆ

โควิด-19 อาจไม่หายไป

เดือนมกราคม 2021 ที่ผ่านมา วารสารวิทยาศาสตร์ชั้นนำ “เนเจอร์” (Nature)  ได้สอบถามความคิดเห็นของนักภูมิคุ้มกันวิทยาและผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขกว่า 100 คนทั่วโลกว่า เชื้อ Sars-Cov-2 ที่ก่อโรคโควิด-19 จะถูกขจัดให้หมดสิ้นไปจากโลกได้หรือไม่

ผลปรากฏว่าเกือบ 90% ของผู้ตอบคำถามระบุว่า “ไม่ได้” โดยให้เหตุผลว่ามีหลักฐานที่บ่งชี้ว่าเชื้อไวรัสชนิดนี้น่าจะกลายเป็นโรคประจำถิ่น (Endemic) และจะยังคงแพร่ระบาดในหลายพื้นที่ของโลกต่อไป

ผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นว่า เพราะการกำจัดเชื้อโรคให้หมดไปไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นได้ง่ายๆ ซึ่งมีโรคเพียง 2 ชนิด เท่านั้นที่ WHO เคยประกาศว่า สามารถขจัดเชื้อไวรัสให้หมดสิ้นไป ได้แก่ ไข้ทรพิษ หรือโรคฝีดาษ (smallpox) และโรครินเดอร์เปสต์ (rinderpest) เท่านั้น ซึ่งไข้ทรพิษมีความร้ายแรงแง่ของการแพร่กระจายที่เทียบเท่ากับโควิด-19 โดยผู้ป่วยที่ได้รับยืนยันว่าติดโรครินเดอร์เปสต์ครั้งสุดท้ายพบในประเทศเคนยาเมื่อปี 2001 และผู้ป่วยโรคฝีดาษคนสุดท้ายพบในประเทศอังกฤษเมื่อปี 1978 ด้วยสภาพการณ์และวัคซีนที่ช่วยลดการแพร่กระจายของเชื้อไข้ทรพิษได้สำเร็จ

แต่ในวัคซีนต้านโควิด-19 ยังไม่สามารถให้ผลลัพธ์แบบเดียวกันได้ โดยวัคซีนต้านโควิด-19 ในปัจจุบันทำได้เพียงช่วยลดอัตราการติดเชื้อและความรุนแรงของโรคลงเท่านั้น ไม่ได้ป้องกันการติดเชื้อ และผู้ที่ได้รับวัคซีนแล้วก็ยังสามารถแพ้เชื้อโควิด-19ไปยังผู้อื่นได้

การกลายพันธุ์ของไวรัส ทำให้ทุกอย่างไม่ง่าย

ไวรัสโควิด-19 ได้มีการพัฒนาสายพันธุ์ ที่ไม่เพียงแค่ติดต่อได้ง่ายขึ้น แต่ยังจำกัดได้ยากขึ้นด้วย ซึ่งในตอนนี้ไวรัสสายพันธุ์เดลตายังคงเป็นสายพันธุ์ที่มีการระบาดและตรวจพบผู้ติดเชื้อได้มากที่สุดในตอนนี้ โดยยังมีการระบาดอย่างรุนแรง ในประเทศอินเดียและอินโดนีเซีย นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่เผยว่าไวรัสสายพันธุ์แลมบ์ดาอาจจะมีคุณบัติต้านวัคซีนบางชนิดได้อีกด้วย

และล่าสุด “โอไมครอน” โควิดกลายพันธุ์ชนิดใหม่ที่ถูกค้นพบในประเทศแถบแอฟริกาใต้ ที่ได้มีการรายงานการพบเชื้อนี้ไปยังองค์การอนามัยโลกเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2021 โดยโอไมครอนได้มีการกลายพันธุ์อย่างรุนแรงในยีนหลายสิบตำแหน่ง ทำให้หวั่นเกรงกันว่าเชื้อกลายพันธุ์ชนิดนี้อาจแพร่ระบาดได้ง่าย และเป็นอันตรายยิ่งกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ ที่ทั่วโลกเคยพบมา โอไมครอนถือเป็นเชื้อไวรัสโควิด-19 กลายพันธุ์ชนิดที่ 5 ที่องค์การอนามัยโลกจัดให้อยู่ในกลุ่มสายพันธุ์ที่น่ากังวล เพราะมีความเป็นไปได้สูง่า วัคซีนต้านโควิดที่มีใช้กันอยู่ในปัจจุบันอาจใช้ไม่ได้ผลกับเชื้อกลายพันธุ์ตัวนี้ หากมีการแพร่ระบาดออกไปในวงกว้าง จะยิ่งทำให้สถานการณ์การระบาดทั่วโลกกลับมาเลวร้ายยิ่งขึ้น

โควิด-19 จะยังคงอยู่กับเรา

แม้การระบาดของโควิด-19 จะยังไม่สามารถหาจุดสิ้นสุดลงได้ แต่ชีวิตของเราทุกคนต่างก็ต้องปรับตัวและดำเนินชีวิตต่อไป

ซึ่งแพทย์เชี่ยวชาญโรคระบาดกล่าวว่า ตราบใดที่โควิด-19 ยังมีการแพร่ระบาด การสวมหน้ากากยังเป็นสิ่งจำเป็น ทั้งนี้เพื่อปกป้องกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูง และกลุ่มคนที่ยังไม่สามารถฉีดวัคซีน เช่น เด็กและคนมีโรคประจำตัว หน้ากากจึงจะยังจำเป็นจนว่าการติดเชื้อในชุมชนจะอยู่ในระดับที่ต่ำ และหน้ากากอนามัยเป็นมาตรการป้องกันที่ดีที่สุดเป็นอันดับ 2 รองจากการฉีดวัคซีนซึ่งอย่างน้อยอีก 1 ปี ที่ประชาชนควรสวมหน้ากากอนามัยต่อไปเป็นเวลาอย่างน้อย 1 ปี หรือจนกว่าจะมีวัคซีนที่สามารถป้องกันการติดเชื้อโควิด-19ได้

นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญโรคระบาดคาดการณ์ว่า ภายในอีก 5 ปี ข้างหน้า โรคโควิด-19 จะเหมือนกับโรคไข้หวัดใหญ่ คือแต่ละปีจะมีการแพร่ระบาดในระดับต่ำหรือมีการเสียชีวิตบ้าง แต่จะไม่เป็นวิกฤติทางสาธารณสุขจนถึงกับทำให้ต้องมีการล็อกดาวน์เช่นในสองปีที่ผ่านมา สามารถอ่านความคิดเห็นอื่นๆ ได้จาก Pantip : โควิด-19 จะอยู่กับเราอีกกี่ปี?

แม้ว่าเราจะกลับไปใช้ชีวิตเหมือนตอนก่อนจะมีโควิด-19 ไม่ได้ แต่เรายังสามารถปรับตัวเพื่อให้ใช้ชีวิตอย่างระมัดระวัง ป้องกันทั้งตนเองและคนอื่น ด้วยการสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งที่ออกจากบ้าน PocoCar พร้อมจะจับมือคุณก้าวผ่านวิกฤตโรคระบาดไปด้วยกันให้ PocoCar รถรับส่งปลอดเชื้อโควิด-19 ช่วยดูแลคุณ และคนที่คุณรักนะคะ

แหล่งข้อมูล

โควิด-19 : ผู้เชี่ยวชาญชี้โควิดอาจไม่หมดไปจากโลก แนะวิธีรับมือ (https://www.bbc.com/thai/international-57887146)
การกลายพันธุ์ของโรคโควิด-19 (https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/line/การกลายพันธุ์ของโรคโคว/)