การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 สายพันธ์โอมิครอน ระรอบใหม่นี้ถือเป็นการระบาดซีซั่นที่ 5 ของประเทศไทย ซึ่งอย่างที่รู่กันดีว่าถึงแม้อาการของโรคจะไม่รุนแรงเท่าสายพันธุ์เดลตา แต่ก็เป็นสายพันธุ์ที่แพร่กระจายได้ง่าย และ รวดเร็ว ทำให้หลายๆคนจะต้องคอยระวัง และหมั่นมีการตรวจเช็คหาเชื้ออยู่เป็นประจำ รวมถึงศึกษาหาความรู้แนวทางไว้ก่อนว่าเมื่อติดโควิด ต้องทำอย่างไร? ซึ่งการตรวจหาเชื้อโควิดสามารถทำได้หลายวิธี แต่วิธีที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ การตรวจหาเชื้อแบบ Antigen Test Kit (ATK) ที่สามารถทำด้วยตัวเองได้ที่บ้าน
ผลตรวจ Antigen Test Kit (ATK) เป็นบวก คืออะไร?
ชุดตรวจหาเชื้อแบบ ATK หรือ Antigen test kit (แอนติเจน เทสต์ คิท) คือ ชุดทดสอบโควิด-19 ที่รวดเร็วและสะดวกต่อการใช้งาน เป็นการแอนติเจนของเชื้อก่อโรคโควิด-19 โดยการเก็บตัวอย่างจากทางจมูกลึกถึงคอหรือเก็บจากลำคอ เพื่อเป็นการคัดกรองการติดเชื้อในเบื้อต้น ซึ่งหลังการตรวจจะต้องรอผล 15-30นาที แล้วจึงอ่านค่าจากผลตรวจ โดยอักษรตัว C หมายถึงแถบควบคุม และ อักษรตัว T หมายถึง ทดสอบซึ่งมีวิธีการอ่านผลตรวจ ดังนี้
- หากผลการตรวจมีแค่ขีดเดียวตรงตัวอักษร C แปลว่าผลตรวจเป็นลบ (Covid Negative) หรือ ไม่ติดเชื้อโควิด-19
- หากผลการตรวจมี 2 ขีดตรงตัวอักษร C และ T แปลว่า ผลตรวจเป็นบวก (Covid Positive) หรือ ติดเชื้อโควิด-19
- หากผลการตรวจปรากฎแค่ตรง T ไม่มีขีดที่ตัว C หรือไม่มีขีดใดปรากฎขึ้นเลย แปลว่าผลตรวจไม่แน่ชัด ให้ทำการตรวจหาเชื้อใหม่อีกครั้ง
เมื่อผลตรวจ ATK เป็นบวก ต้องทำอย่างไรต่อ
สำหรับการตรวจหาเชื้อแบบ Antigen Test Kit หรือ ATK เป็นการตรวจหาเศษส่วนของเชื้อ ซึ่งสามารถตรวจเองได้ที่บ้าน โดยมีหลายวิธี เช่น การ Swab จมูก, Swab คอ และชุดตรวจแบบน้ำลาย โดยการใช้ชุดตรวจที่ได้รับการยอมรับจากองการอนามัยโลก (WHO)ที่มีการระบุไว้ข้างกล่องว่าเป็นวิธี Lateral Flow Technique (LTF) ซึ่งจะมีความแม่นยำ 60-90% (ขึ้นอยู่กับแต่ละยี่ห้อ)
การตรวจแบบ LTF จะแสดงผลตรวจภายในเวลาประมาณ 15 – 30 นาที ซึ่งการตรวจแบบ ATK นี้จะมีข้อควรระวังที่สำคัญคือ ไม่ควรตรวจให้ผู้อื่นโดยไม่ได้สวมชุด PPE เพราะอาจจะทำให้ได้รับเชื้อมาในระหว่างที่ตรวจให้ผู้อื่นได้ ซึ่งการตรวจแบบ LTF นี้ เหมาะสำหรับทุกคนที่มีอาการหรือมีความเสี่ยงสูงที่ต้องการทราบผลแบบรวดเร็ว
หากผลการตรวจออกมา 2 ขีด ซึ่งแปลว่าพบเชื้อ แนะนำให้ไปตรวจโควิด ที่โรงพยาบาลอีกครั้ง แบบ RT-PCR เพื่อความมั่นใจ หากมีผลพบกว่าติดเชื้อโควิดจะต้องมีการปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ หรือ แพทย์อย่างเคร่งครัดดังนี้
- กักตัวเพื่อดูอาการอย่างน้อย 7-10 วัน
- แยกตัวออกจากคนใกล้ชิด รวมถึงการแยกข้าวข้องเครื่องใช้ทุกอย่าง เพื่อป้องกันไม่ใช้เกิดการแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น
- แจ้งให้คนใกล้ตัวทราบทันทีที่มีการตรวจพบเชื้อ เพื่อให้คนใกล้ชิดได้กักตัวเพื่อสังเกตอาการของตัวเอง
- สังเกตอาการและเข้ารับการรักษา หมอก็จะแบ่งคนไข้ออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
1. กลุ่มผู้ป่วยที่ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล จะเป็นผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มสีเขียว (กลุ่มผู้ป่วยสีเขียว คือ ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการ หรือมีอาการน้อย)
2. กลุ่มผู้ป่วยกลุ่มที่ความเสี่ยงที่อาจจะเกิดโรครุนแรงในภายหลัง หรือกลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคแทรกซ้อนโดยจะเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่สูงอายุ โดยมีอายุตั้งแต่อายุ 65 ปีขึ้นไป หรือว่ามีโรคประจำตัว ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้จะต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด
ผลตรวจ ATK เป็นบวก เชื่อได้ไหม?
เมื่อตรวจโควิด-19 ด้วย ATK ผลเป็นบวก หรือ ขึ้นสองขีด หมายถึง ผลเป็น Positive (+) (พบเชื้อ) ทำให้หลายๆคนเกิดความวิตกกังวลว่าจะต้องทำอย่างไรต่อไป? พอมาถึงขั้นตอนนี้อยากให้ทุกคนใจเย็นๆกันก่อนเพราะอย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าการตรวจหาเชื้อ ATK ผลการตรวจมีความแม่นยำ 60 – 90% ซึ่งอาจจะมีผลบวกลวงหรือผลลบลวงได้ คือ
- ผลบวกปลอม (False Positive) หมายถึง ไม่ได้ติดเชื้อ แต่ให้ผลการทดสอบเป็นบวก (+)
- ผลลบลวง (False Negative) หมายถึง เป็นผู้ติดเชื้อ แต่ให้ผลการทดสอบเป็นลบ (-)
หากไม่แน่ใจและต้องการผลการตรวจที่แม่นยำที่สุดแนะนำให้มีการตรวจซ้ำด้วยวิธี RT-PCR ที่โรงพยาบาลอีกครั้ง
ผลตรวจ ATK เป็นบวกขึ้นกี่ขีด
สำหรับผู้ที่ตรวจด้วย ATK (Antigen Test Kit) แล้วมีการพบเชื้อ ที่ชุดตรวจจะมี 2 ขีดตรงตัวอักษร C และ T ซึ่งแปลว่า ผลตรวจเป็นบวก (Covid Positive) หรือพบเชื้อโควิด-19 แต่หากมีแค่ขีดเดียวตรงตัวอักษร C แปลว่าไม่พบเชื้อ
ผลตรวจ ATK เป็นบวกขึ้นจางๆ หมายถึงอะไร?
ATK เป็นการตรวจหาเชื้อเองที่บ้าน ทำให้เกิดข้อสงสัยและมีความกังวลจากหลายคนๆ เมื่อชุดตรวจแสดงผล ขึ้น 2 ขีดจางๆ ซึ่งอาจทำให้ไม่แน่ใจว่าพบเชื้อหรือไม่ แท้จริงแล้ว แม้ว่าตัว T และ ตัว C จะขึ้นเป็นขีดจางๆ ตามหลักการแพทย์ก็จะแปลว่ามีผลเป็นบวก (Positive) หรือ ติดเชื้อนั่นเองแต่หากยังไม่มั่นใจแนะนำให้ไปตรวจด้วยวิธี RT-PCR ที่โรงพยาบาลซ้ำอีกครั้ง
ผลตรวจ ATK เป็นบวก เแต่ไม่มีอาการ ควรปฏิบัติตัวอย่างไร?
สำหรับคนที่พบว่าผลตรวจ ATK เป็นบวก แต่ไม่มีอาการ ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะถูกจัดอยู่ในกลุ่มของผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว ซึ่งไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล แต่สามารถรักษาตัวแบบ home isolation ซึ่งมีวิธีการปฏิบัติตัวดังนี้
- แยกตัวออกจากผู้อื่น อยู่ในห้องส่วนตัวตลอดเวลา ไม่ใกล้ชิดกับบุคคลอื่น โดยเฉพาะผู้สูงอายุและเด็กเล็ก
- แยกสิ่งของส่วนตัวไม่ใช้ร่วมกับผู้อื่น เช่น ผ้าเช็ดตัว จาน ช้อนส้อม แก้วน้ำ
- สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่ออกจากห้อง และ เว้นระยะห่างอย่างน้อย 2 เมตร หากไอจามไม่ควรเข้าใกล้ผู้อื่น
- ล้างมือด้วยเจลแอลกออฮอล์ หรือสบู่ เป็นประจำ โดยเฉพาะหลังการสัมผัสน้ำมูก เสมหะ น้ำลายขณะไอ จาม หรือ หลังการเข้าห้องน้ำ
- ใช้ห้องน้ำแยกจากผู้อื่น และปิดฝาชักโครกทุกครั้งก่อนกดน้ำ
- สังเกตอาการตัวเอง วัดอุณหภูมิ และ Oxygen Saturation ทุกวัน
- หากมีไข้สูงกว่า 39 องศาเซลเซียส วัดค่าออกซิเจนได้น้อยกว่า 94% หายใจหอบเหนื่อย อ่อนเพลียจนไม่สามารถปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ให้รีบติดต่อโรงพยาบาลทันที
- หากต้องเดินทางไปโรงพยาบาลให้หลีกเลี่ยงการใช้รถสาธารณะ เพื่อความปลอดภัยต่อผู้อื่นแนะนำให้รอรถพยาบาลมารับหรือเรียกใช้บริการแท็กซี่โควิดมารับ
อ่านเพิ่มเติม : 10 วิธีรักษาโควิดที่บ้าน มียารักษาและอุปกรณ์เบื้องต้น ต้องเตรียมอะไรบ้าง?
ผลตรวจ ATK เป็นบวกปลอม เกิดจากอะไร
ในกรณีที่ผลตรวจ ATK เป็นบวกปลอม (False Positive) คือ การที่ตรวจ ATK แล้วผลพบเชื้อ แต่ เมื่อด้วยวิธี RT-PCR แล้วไม่ได้ติดเชื้อ สามารถเกิดขึ้นได้ซึ่งสามารถพบได้จากสาเหตุ
- ปฏิบัติตามขั้นตอนไม่ถูกต้อง เช่น อ่านผลเกินเวลาที่กำหนด
- ชุดตรวจไม่ได้มาตรฐาน
- ติดเชื้อไวรัสหรือจุลชีพอื่น ๆ
- สภาพสิ่งส่งตรวจไม่เหมาะสม
- มีการปนเปื้อนจากพื้นที่ทำการทดสอบลงบนอุปกรณ์ชุดตรวจ
ผลตรวจ ATK กับ RT-PCR ต่างกันอย่างไร
Antigen Test Kit (ATK) เป็นชุดตรวจโควิด-19 โดยการเก็บสารคัดหลังที่สามารถตรวจด้วยตัวเองที่บ้าน เป็นการอ่านผลทดสอบบน Strip Test ใช้ระยะเวลารอผลการตรวจประมาณ 15-30 นาที ความแม่นยำในการตรวจ อาจมีความคลาดเคลื่อนได้จากวิธีการตรวจ หรือชุดตรวจไม่ได้มาตรฐาน
Real-Time PCR เป็นการ Swab เพื่อเก็บสารคัดหลั่งทางเดินหายใจส่วนบนเข้าตรวจวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ (Lab) ซึ่งสามารถตรวจได้เฉพาะที่โรงพยาบาล เป็นการตรวจมี่มีความแม่นยำสูง สามารถยืนยันผลได้ทันที ใช้เวลาในการรอผลประมาณ 24-72 ชั่วโมง
กรณีที่ตรวจ ATK ด้วยตนเองและผลเป็นบวก (+) ควรตรวจซ้ำด้วยวิธี RT-PCR อีกครั้ง
ผลตรวจ ATK เป็นบวก ต้องตรวจ RT-PCR ซ้ำหรือไม่?
การตรวจ ATK เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยคัดกรองผู้ป่วยเบื้องต้น ที่สามารถทำให้ทราบผลได้รวดเร็วขึ้น ในกรณีที่ตรวจ ATK แล้วพบว่ามีผลเป็นบวก (Positive) เป็นไปได้สูงว่าการตรวจแบบ RT-PCR จะมีผลเป็นบวก (+) เหมือนกัน ดังนั้นการตรวจซ้ำด้วย RT-PCT จึงเป็นกับบุคลบางกลุ่มเท่านั้น เช่นผู้ต้องได้รับยาเฉพาะ หรือผู้ที่มีอาการหนัก หรือผู้ที่มีความประสงค์ที่จะต้องใช้ใบรับรองแพทย์เท่านั้นไม่จำเป็นต้องทำการตรวจซ้ำด้วย RT-PCT ทุกคน
ผลตรวจ ATK เป็นบวก ต้องติดต่อที่ไหน
หลังจากการตรวย ATK (Antigen Test Kit) แล้วพบว่ามีผลเป็นบวกสามารถติดต่อขอเข้ารับการรักษาได้ทันทีในระบบของกระทรวงสาธารณะสุข หรือโรงพยาบาลในเครือข่าย หรือหากมีอาการเล็กน้อยหรือไม่แสดงอาการก็อาจจะรับการรักษาแบบ Home Isolation โดยติดต่อผ่านช่องทาง ดังนี้
เมื่อพบผลตรวจ ATK เป็นบวก ในพื้นที่ กทม. สามารถเข้าสู่ระบบการรักษาได้ทันที โดยติดต่อผ่านช่องทางต่างๆดังนี้
- โทรสายด่วน สปสช 1330 กด 14 หรือ Line สปสช. @nhso
- โทรสายด่วนศูนย์เอราวัณ 1669 กด 2
- เพิ่มเพื่อนทาง Line @BKKCOVID19CONNECT โดยผู้ป่วยที่มีอาการเล็กน้อย ไปจนถึงผู้ป่วยที่ไม่มีอาการ สามารถรักษาที่บ้านผ่านระบบ Home Isolation ซึ่งจะได้รับยาตามอาการ อาหาร อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็น โดยจะมีแพทย์คอยติดตามอาการ แต่หากผู้ป่วยไม่สะดวกที่จะรักษาตัวอยู่ที่บ้าน ก็สามารถรักษาตัวที่ศูนย์พักคอย (CI)ได้ แต่หากมีอาการแย่ลงเปลี่ยนเป็นผู้ป่วยสีเหลืองหรือสีแดง แพทย์ที่ดูแลก็จะทำเรื่อง ส่งต่อไปรักษาในโรงพยาบาลสนาม โรงพยาบาลในสังกัดกทม. ทันที
สำหรับผู้ติดเชื้อที่อยู่ต่างจังหวัด สามารถติดต่อสถานพยาบาลสิทธิการรักษา, สถานพยาบาลรัฐใกล้บ้าน, สายด่วนเกี่ยวกับโควิด-19 ประจำอำเภอหรือจังหวัด เพื่อขอเข้ารับการรักษาได้เลยทันที
เมื่อพบผลตรวจ ATK เป็นลบ
ในกรณีที่เป็นผู้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยโควิด หรือมีความเสี่ยงสูงแต่ตรวจ ATK แล้วมีผลเป็นลบ (-) แนะนำให้ปฏิบัติตามมาตรการอย่างเคร่งครัด ดังนี้
- กักตัวเพื่อดูอาการ และตรวจ ATK ซ้ำ ทุก 3-5 วัน
- กรณีที่มีอาการ หรือมีประวัติสัมผัสผู้ติดเชื้อใกล้ชิด แนะนำให้เข้ารับการตรวจแบบ RT-PCR ซ้ำ และหากผลเป็นบวก ก็สามารถเข้าสู่ระบบการรักษาเช่นเดียวกับการตรวจหาเชื้อแบบ ATK ด้วยระบบ Home Isolation หรือ การรักษาในโรงพยาบาลนั่นเอง
สรุป
หลังการตรวจ ATK แล้วพบว่ามีผลเป็นบวก (Positive) หากไม่มีอาการที่รุนแรง หรือไม่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่ต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด สามารถทำการรักษาด้วยระบบ Home Isolation อยู่ที่บ้านได้ แต่หากพบว่าต้องมีการเดินทางไปโรงพยาบาล หรือ เดินทางไปกักตัว แนะนำให้หลีกเลี่ยงการใช้บริการรถสาธารณะเพราะมีความเสี่ยงสูงต่อการแพร่เชื้อให้กับผู้อื่น ควรใช้บริการรถรับ-ส่งผู้ป่วยโควิดโดยเฉพาะ หรือ ให้บริการแท็กซี่โควิด PocoCar ที่ให้บริการรับ-ส่งผู้ป่วยโควิด ตลอด24 ชั่วโมง