7/398 Vipawadee 19 Vipawadee Rangsit Road Chatuchak, Chatuchak Bangkok 10900
Always Open (24/7 Service)

10 วิธีรักษาโควิดที่บ้าน มียารักษาและอุปกรณ์เบื้องต้น ต้องเตรียมอะไรบ้าง?

สถานะการณ์แพร่ระบาดของเชื้อโควิดในไทยยังถือว่าเป็นเรื่องที่น่ากังวล ถึงแม้ความรุนแรงของโรคจะดูเบาบางลง และแสดงอาการน้อยลง ไม่ถึงขั้นต้องนอนรับการรักษาที่โรงพยาบาล แต่การแพร่กระจายของเชื้อโรงก็ยังสามารถติต่อกันได้รวดเร็ว จนทำให้มีผู้ป่วยหลายๆคนต้องเข้ารับการรักษา และ กักตัวอยู่ที่บ้าน ด้วยระบบ Home isolation ซึ่งหลายๆคนอาจจะยังไม่ทราบว่าการรักษาโควิดที่บ้านนั้นมีขั้นตอนอย่างไร มียารักษา และ อุปกรณ์เบื้องต้นที่จำเป็นอะไรบ้าง ในบทความนี้เรามีคำแนะนำอย่างละเอียดเกี่ยวกับการรักษาโควิด-19 ด้วยตัวเองที่บ้านอย่างถูกวิธีมาฝากจะมีอะไรบ้างมาดูกันเลย

วิธีรักษาโควิดที่บ้าน

สำหรับผู้ป่วยโควิดที่มีผลการตรวจเชื้อเป็นบวก (Positive) แต่มีอาการไม่รุนแรง มีอาการน้อยไปจนถึงไม่แสดงอาการ และ ไม่มีโรคประจำตัว หรืออาการแทรกซ้อน จะได้รับการรักษาแบบ Home isolation คือการรักษาด้วยตัวเองที่บ้าน โดยสามารถรักษาตามอาการด้วย 10 วิธีการดูแลตัวเองที่บ้านง่ายๆจนกว่าอาการจะดีขึ้น และ จนกว่าจะมาผลการตรวจว่าไม่พบเชื้อดังนี้

1. แยกตัวออกจากผู้อื่น

หลังการที่มีการตรวจ ATK หรือ PT-PCR แล้วมีผลยืนยันการพบเชื้อ (+) สิ่งแรกที่ผู้ป่วยควรทำนั่น คือ การแยกตัวออกจากผู้ใกล้ชิด หรือ คนอื่นภายในบ้าน เพื่อทำการกักตัวอย่างน้อย 7-10 วันเพื่อเฝ้าสังเกตอาการของตัวเอง ทั้งรวมถึงแยกห้องนอน ห้องน้ำ กับคนในบ้านเพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่แพร่เชื้อสู่คนรอบข้าง นอกจากนี้ยังต้องงดไม่ให้บุคคลอื่นมาเยี่ยม และ งดการออกนอกบ้านไปพบปะผู้คนอีกด้วย แต่หากจำเป็นต้องเข้าใกล้ผู้อื่นแนะนำให้สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา และ มีการเว้นระยะห่างอย่างน้อย 1-2 เมตร

อ่านเพิ่มเติม : ติดโควิด ทํายังไง? สรุปเข้าใจง่าย อัพเดทล่าสุด 2565

2. ยาสามัญประจำบ้านพื้นฐานที่จำเป็น

สำหรับผู้ป่วยโควิดที่ทำการรักษาแบบ Home isolation จะเป็นการรักษาตามอาการซึ่งยาสามัญระจำบ้านพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วย มีดังนี้

  • ยาลดไข้ พาราเซตามอล รับประทานเวลามีอาการไข้ (อุณหภูมิร่างกายสูงเกิน 37 องศา) หรือ มีอาการปวดต่างๆ โดยทานห่างกันอย่างน้อย 4-6 ชั่วโมง
  • ยาแก้แพ้ ช่วยลดน้ำมูก แต่ควรทานเท่าที่จำเป็น เพราะยาแก้แพ้จะทำให้เกิดอาการง่วงนอนได้ นอกจากนี้มีคุณสมบัติต้านการอักเสบ
  • ยาแก้ไอ หากมีอาการไอควรทานยาแก้ไอ หากไอแบบมีเสมหะ ควรเลือกใช้ยาแก้ไอที่มีฤทธิ์ช่วยละลายเสมหะร่วมด้วย (ควรกินเฉพาะผู้ที่ยังไม่มีอาการปอดอักเสบ เนื่องจากผู้ที่อาการปอดอักเสบเมื่อทานไปแล้วจะเป็นการไปกดอาการไอมากขึ้น)
  • ยาลดน้ำมูก ช่วยให้เราหายใจได้สะดวกขึ้น
  • ยาละลายเสมหะ จะช่วยบรรเทาอาการไอแบบมีเสมหะให้ดีขึ้น
  • เกลือแร่ เนื่องจากผู้ป่วยโควิด-19 บางรายอาจมีอาการท้องเสียหรืออาเจียนร่วมด้วย การดื่มเกลือแร่จะช่วยทำให้ร่างกายไม่อ่อนเพลียแบบเฉียบพลัน
  • ยาฟ้าทะลายโจร จะช่วยบรรเทาอาการของผู้ป่วยโควิด-19 ที่อยู่ในกลุ่มสีเขียวที่มีอาการน้อยได้
  • ยารักษาโรคประจำตัว หรือยาที่ต้องทานเป็นประจำเพื่อรักษาอาการของโรคอื่นๆ

3. เตรียมอุปกรณ์จำเป็นสำหรับรับมือโควิด

นอกจากยาสามัญประจำบ้านที่จำเป็นแล้วการรักษาโควิดด้วยตัวเองที่บ้าน ยังจะต้องมีอุปกรณ์ต่างๆเพื่อใช้ในการตรวจวัดความผิดปกติของร่างกาย ซึ่งอุปกรณ์ที่คุณหมอแนะนำให้ไว้สำหรับการรับมือกับโครโควิด-19 มีดังนี้

  • ปรอทวัดไข้ เพื่อให้สามารถใช้วัดอุณหภูมิร่างกายได้ตลอดเวลาเพื่อสังเกตการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของร่างกาย
  • เครื่องวัดระดับออกซิเจนปลายนิ้ว ใช้สำหรับวัดระดับออกซิเจนของเราโดยการอ่านค่าเบื้องต้น ซึ่งค่าออกซิเจนในร่างกายที่วัดได้จะต้องไม่ต่ำกว่า 95%
  • แผ่นเจลลดไข้ จะช่วยระบายความร้อนในร่างกาย และ ช่วยลดอุณหภูมิของร่างการไม่ให้สูงมากจนเกินไป
  • ที่ตรวจ ATK ไว้สำหรับการตรวจหาเชื้อในครั้งต่อไป หลังจากทำการรักษาไปแล้ว 5-7 วัน
  • คาลาไมน์โลชั่น ใช้ทาแก้อาการผดผื่นคัน เพื่อลดอาการคันในผู้ป่วยโควิดบางรายอาจมีอาการคันและมีผื่นขึ้นที่ผิวหนัง
  • น้ำยาทำความสะอาดฆ่าเชื้อ สำหรับเช็ดทำความสะอาดในบริเวณที่สัมผัส ทำความสะอาดพื้นบ้าน และ พื้นผิว
  • สเปรย์แอลกอฮอล์ หรือ แอลกอฮอล์เจล และสบู่เหลว สำหรับทำความสะอาดมือ
  • หน้ากากอนามัยควรทีการเปลี่ยนใหม่ทุกวัน

4. ดื่มน้ำเยอะๆ

อย่างน้อยให้ได้วันละ 8-10 แก้วจะช่วยลดไข้และทดแทนน้ำที่สูญเสียไปเนื่องจากไข้สูง และ ช่วยควบคุณอุณหภูมิของร่างกายไม่ให้สูงมากเกินไปนอกจากนี้การดื่มน้ำยังช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต ปรับสมดุลในร่างกาย ช่วยให้อวัยวะต่างๆ ในร่างกายทำงานได้อย่างปกติ ทำฟื้นตัวจากการป่วยได้ไวขึ้น

5. สวมหน้ากากอนามัยหากจำเป็นต้องออกจากบ้าน

หากผู้ป่วยมีเหตุจำเป็นที่จะต้องเดินทางออกจากบ้านควรมีการสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อจากสารคัดหลั่งในขณะ ไอ จาม หรือพูด และ ควรหลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังสถานที่ ที่มีคนพรุกพร่าน จำนวนมาก เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเป็นคลัสเตอร์ในเขตชุมชน

6.ไม่ใช้ของใช้ร่วมกับผู้อื่น

เนื่องจากโควิด-19 เป็นเชื้อที่สามารถแพร่กระจาย และติต่อกันได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นผู้ป่วยโควิดจึงควรมีการแยกการใช้สิ่งของกับผู้อื่น โดยการแยกห้องส่วนตัว แยกห้องน้ำ แยกของใช้ส่วนตัว เช่น มีการแยกช้อนซ่อม แก้วน้ำ ผ้าเช็ดตัว แยกซักเสื้อผ้า รวมถึงห้ามรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น เพื่อป้องกันการติดเชื้อจากการสัมผัส

7. คอยสังเกตอาการในแต่ละวัน

ผู้ป่วยที่มีการรักษาด้วยตัวเองที่บ้านแบบ Home isolation จะต้องทำการวัดไข้ วัดออกซิเจนในร่างกาย และ คอยสังเกตอาการของตัวเองในแต่ละวัน โดยจะต้องระวังไม่ให้มีอาการไข้ขึ้นสูงกว่า 39 องศาเซลเซียส และคอยวัดค่าออกซิเจนในร่างการว่าต่ำกว่า 95% หรือไม่ หากมีไข้สูงกว่า 39 องศาเซลเซียส หรือ มีค่าออกซิเจนในร่างการต่ำกว่า95% หรือมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่ยเหนื่อยหอบ หายใจติดขัด อ่อนเพลีย ไม่สามารถทำกิจกรรมแบบปกติได้ให้ติดต่อแพทย์เพื่อขอเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลทันที

8. ล้างมือด้วยสบู่ หรือ เจล แอลกอฮอล์บ่อยๆ

การล้างเมือด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์เจล บ่อยๆ ถือเป็นเรื่องสำคัญ เพราะช่วยตัววงจรของการแพร่เชื้อโควิด-19 ได้ การล้างมือด้วยสบู่เหลวให้นานกว่า 20 วินาทีฤทธิ์ของสบู่จะเข้าไปช่วยทำลายปลอกไขมันที่หุ้มตัวเชื้อไวรัสโควิด- 19 ให้แตกออก ทำให้เชื้อหมดฤทธิ์ไม่สามารถแพร่พันธุ์ต่อไปได้ และ การล้างด้วยแอลกอฮอล์ 70% ในรูปสเปรย์หรือเจล ก็จะช่วยทำให้เชื้อไวรัสโควิด-19 ตายลงทุกสายพันธุ์ (ข้อสำคัญคือ ต้องใช้ขณะที่มือแห้ง และไม่คราบสิ่งสกปรกอื่นๆเปื้อน)

9. มีการเว้นระยะห่างกับผู้อื่นอย่างน้อย 1-2 เมตร

Social Distancing หรือ การเว้นระยะห่างทางสังคมถือเป็นหนึ่งในมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงต่อการสัมผัส หรือ แพร่การจายเชื้อสู่บุคคลอื่น ควรรักษาระยะห่างกัน 1 – 2 เมตร ซึ่งเป็นระยะที่เชื้อสามารถกระจายสู่บุคคลอื่นได้น้อย และหากไม่มีความจำเป็นควรงดการรวมตัวเพื่อทำกิจกรรมในที่ชุมชน ซึ่งนอกจากนี้การเว้นระยะห่างยังเป็นแนวปฏิบัติในการป้องกันโรคติดต่อที่เกิดจากการติดเชื้อทางเดินหายใจอื่นๆ หรือโรคที่ติดต่อจากการสัมผัสได้อีกด้วย

10. หลีกเลี่ยงการเดินทางด้วยรถสาธารณะ

สำหรับผู้ป่วยมีผลการตรวจว่าพบเชื้อโควิด-19 ที่ต้องทำการรักษาตัวอยู่ที่บ้าน แบบ home isolation แล้วต้องเดินทางไปเข้ารับการตรวจร่างกาย เอกซเรย์ปอดที่โรงพยาบาล แนะนำให้งดการเดินทางด้วยรถสาธารณะ เพื่อป้องกันไม่ใช้เกิดการแพร่เชื้อเข้าสู่ระบบสาธารณะ แนะนำให้เดินทางด้วยรถบริการรับส่งผู้ป่วยโควิดโดยเฉพาะ เช่น แท็กซี่โควิด หรือ บริการรถรับส่งผู้ป่วยโควิด PocoCar เพื่อใช้ในการเดินทางไปตรรวจโควิดที่โรงพยาบาลหรือเดินทางไปรักษาตัวที่ Hospitel เป็นต้น

ยารักษาโควิด ที่ได้รับจากแพทย์

ชุดยาสำหรับการรักษาโควิดด้วยตัวองที่บ้านแบบ Home isolation หรือยาที่แพทย์จะจ่ายให้ตอนรักษาตัวที่โรงพยาบาล สามารถยาแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลักๆ คือ

ยารักษาตามอาการ

  • ยาพาราเซตามอล ยาลดไข้ ใช้รับประทานเมื่ออุณหภูมิร่างกายสูงเกิน 37 องศา โดยทานครั้งละ 1 เม็ด ทุก ๆ 4-6 ชั่วโมง เป็นยาที่สามารถใช้ได้กับผู้ป่วยทุกกลุ่มแต่มีข้ควรระวัง คือรับประทานให้ถูกต้องตามขนาดยา
  • ยาแก้ไอ ทานเมื่อมีอาการไอ ถ้าเป็นยาเม็ดให้ทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร หากเป็นยาน้ำแก้ไอ ควรจิบครั้งละ 1-2 ช้อนชา วันละ 3-4 ครั้ง
  • ยาแก้แพ้หรือยาลดน้ำมูก ช่วยลดอาการแพ้ และมี นิดช่วยลดการอักเสบในร่างกาย ควรทานเท่าที่จำเป็น ยากลุ่มนี้ออกฤทธิ์ได้นานเกือบ 24 ชั่วโมง ให้ทานเพียงวันละ 1 เม็ดเท่านั้น เพราะอาจทำให้เกิดอาการง่วงนอน
  • ยาธาตุน้ำขาว หากมีอาการท้องเสีย ให้จิบครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ
  • เกลือแร่ ใช้รับประทานเมื่อมีอาการท้องเสียหรืออาเจียน การดื่มเกลือแร่จะช่วยชดเชยการสูญเสียน้ำและแร่ธาตุในร่างกายได้
  • ยารักษาโรคประจำตัวอื่น ๆ (ถ้ามี) เพื่อลดการเดินทางไปโรงพยาบาล ควรมียาประจำตัวสำรองไว้ 1-2 เดือน เพื่อจะได้รับประทานยาได้อย่างต่อเนื่อง

ฟ้าทะลายโจร

เป็นยาสมุนไพรที่มีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการไข้หวัดและเจ็บคอ ควรทานในปริมาณที่ระบุเอาไว้ ในปริมาณที่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์เท่านั้น (60 มิลลิกรัมต่อวัน)1 วันต้องทานครั้งละ 4 แคปซูล วันละ 4 ครั้ง ก่อนอาหารและก่อนนอนไม่ควรทานติดต่อกันเกิน 5 วัน เพราะ อาจส่งผลข้างเคียงทำให้ตับและไตทำงานหนัก

ยาฟาวิพิราเวียร์

เป็นยาที่ใช้สำหรับรักษาอาการที่เกิดจากเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยจะต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสมกับร่างกายดังนี้ ในวันแรกให้ทานยาฟาวิพิราเวียร์ 1600 มิลลิกรัม 2 ครั้ง (ครั้งละ 8 เม็ด) และในวันถัดไป ให้ทานยา 600 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง (ครั้งละ 3 เม็ด) อย่างน้อย 5 วัน อาจมีผลข้างเคียงทำให้อาจมีอาการท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียนเกิดขึ้นได้ ต้องรับประทานยาภายใต้การควบคุมของแพทย์

หลังรักษาโควิดหายแล้วต้องปฏิบัติตัวอย่างไร

สำหรับผู้ป่วยโควิดที่รักษาตัวหายดีแล้วจะต้องมีการดูแลตัวเอง เพื่อให้ร่างกายฟื้นตัวจากอาการป่วยดังนี้

  • ดื่มน้ำสะอาดมากๆ อย่างน้อยวันละ 1.5-2 ลิตร โดยเน้นดื่มน้ำช่วงกลางวัน เพื่อป้องกันไม่ให้ต้องลุกขึ้นมาปัสสาวะช่วงกลางคืน
  • พักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง เข้านอนให้เร็วไม่เกิน 4 ทุ่ม
  • ล้างมือด้วยสบู่ หรือ แอลกอฮอล์เจล เป็นประจำ โดยเฉพาะหลังจากการเข้าห้องน้ำ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย อาหารปรุงสุก สะอาด ย่อยง่าย และทานต่อมื้อน้อย ๆ แต่ให้ทานบ่อย ๆ
  • หลีกเลี่ยงการใช้อุปกรณ์ทานอาหารช้อนส้อม และแก้วน้ำร่วมกับผู้อื่น
  • พักสายตาจากโทรศัพท์มือถือ หน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือโทรทัศน์ ไม่ควรใช้สายตามากเกินไป
  • ทานอาหารเสริมหรือ วิตามินบำรุงร่างกาย
  • ออกกำลังกายเบาๆ เพื่อช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด
  • รักษาการเว้นระยะห่างจากสังคม อย่างน้อย 1-2 เมตร
  • งดเว้นการรับประทานอาหารร่วมกัน
  • งดการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  • หลีกเลี่ยงข่าวสารด้านลบ
  • งดการรับประทานยาชุด หรือยาที่นอกเหนือจากที่แพทย์แนะนำ
  • หลีกเลี่ยงอาหารปิ้งย่าง ของทอด ของมัน หรืออาหารรสจัด หมักดอง ย่อยยาก

สรุป

สำหรับผู้ป่วยที่รับการรักษาแบบ home isolation นั้นจะต้องมีการสำรวจอาการของตัวเองอย่างละเอียด ว่าเป็นผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มสีเขียวหรือไม่ หากพบว่าเป็นผู้ป่วยที่มีอาการน้อย หรือไม่แสดงอาการ ที่ไม่มีโรคประจำตัว สามารถรักษาตัวอยู่ที่บ้านได้โดยไม่ต้องเดินทางไปนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาล แต่ผู้ป่วยจะต้องมีการ ปฎิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด และทานยาตามที่แพทย์สั่งให้ครบ เพียงเท่านี้ก็สามารถรักษาโรคโควิด-19 ให้หายได้ด้วยตัวเองที่บ้าน