7/398 Vipawadee 19 Vipawadee Rangsit Road Chatuchak, Chatuchak Bangkok 10900
Always Open (24/7 Service)

ติดโควิด ทํายังไง? สรุปเข้าใจง่าย อัพเดทล่าสุด 2565

โควิดสายพันธุ์ใหม่ (โอมิครอน) เป็นการแพร่ระบาดที่รวดเร็วกว่าสายพันธ์เดลต้า แต่มีอาการไม่รุนแรงเท่า หรือ ในบางรายอาจไม่แสดงอาการ ทำให้จะต้องมีการตรวจเช็คให้แน่ใจก่อนหลังจากพบว่ามีอาการของโควิด-19 หรือ มีการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ ด้วยการประเมินความเสี่ยงของตัวเองว่าเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงสูง หรือ ความเสี่ยงต่ำ แล้ว ทำการตรวจหาเชื้อด้วยตัวเองหากรู้ว่าติดโควิดจริง ตามผลตรวจATKที่เป็นบวก อาจจะทำให้หลายๆคนเกิความกังวลว่าจะต้องทำอย่างไรต่อไป

เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิดสายพันธ์ใหม่ ไม่ได้มีอาการของโรคที่รุนแรงมาก ทำให้ในปัจจุบันผู้ที่ติดเชื้อโควิดไม่จำเป็นจะต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลทุกเคสเหมือนที่ผ่านๆมาโดยกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้แบ่งกลุ่มอาการของผู้ป่วยโควิด-19 ออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มสีเขียว กลุ่มสีเหลือง และ กลุ่มสีแดง ซึ่งแต่ละกลุ่ม จะมีขั้นตอนและระบบการรักษาที่แตกต่างกัน หากรู้ว่าตัวเองติดโควิดหรือมีความเสี่ยงสูง ควรรีบทำการตรวจหาเชื้ออย่างเร่งด่วน และเมื่อรู้ว่าติดโควิดควรปฏิบัติตามแนวทางการรักษาอย่างเคร่งครัด

การปฏิบัติตัวเมื่อตรวจโควิด ATK ผลเป็นบวก ต้องทำอย่างไร?

หลังจากที่พบว่าตัวเองเป็นกลุ่มเสี่ยง หรือ มีอาการของโรคโควิด แนะนำให้มีการตรวจหาเชื้อโดยด่วน และหากผลการตรวจหาเชื้อ ATK เป็นบวก จะต้องมีการ ประเมินความเสี่ยงต่างๆ เพื่อกลุ่มผู้ป่วยเพื่อทำการรักษาต่อไป โดยผู้ป่วยโควิดจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ

  1. ผู้ป่วยกลุ่มที่ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล จะเป็นกลุ่มผู้ป่วยสีเขียว (กลุ่มผู้ป่วยสีเขียว คือ ผู้ป่วยที่มีอาการไม่มาก ไม่มีอาการ หรือมีอาการน้อย) และ ไม่มีโรคประจำตัว
  2. ผู้กลุ่มที่ความเสี่ยงที่ต้องเข้ารับการดูแลอย่างใกล้ชิดที่โรงพยาบาล ได้แก่- ผู้สูงอายุ อายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป- ผู้ที่ตั้งครรภ์- ผู้ที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน- ผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคปอด- ผู้ป่วยมะเร็ง ผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัด

ซึ่งหลังการตรวจพบว่าผลตรวจ ATK เป็นบวก (positive) ผู้ป่วยจะต้องมีการปฏิบัติตัวตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุขดังต่อไปนี้

สำหรับผู้ป่วยที่อยู่ต่างจังหวัดให้ติดต่อสถานพยาบาลสิทธิการรักษาหรือสถานพยาบาลรัฐใกล้บ้าน

สำหรับผู้ป่วยที่อยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานครให้ติดต่อสายด่วน สปสช. 1330 กด 14 หรือ 1669 เพื่อส่งเรื่องให้สถานพยาบาลคัดกรองเบื้องต้นโดยอาการของโรคและการรักษาสามารถแบ่งออกเป็น 3 กรณีดังนี้

1. มีอาการไม่รุนแรง ไม่มีอาการปอดอักเสบ ไม่มีโรคร่วมสำคัญ เข้าระบบรักษาที่บ้าน (Home Isolation) โดยจะมีการส่งยารักษาโรคตามอาการเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว ปรอทวัดไข้ และ ส่งอาหารถึงบ้าน โดยจะได้รับการ ติดตามอาการจากแพทย์ผ่านทางโทรศัพท์ โดยคนไข้จะต้อง ปฏิบัติตัวตาม มาตรการของกระทรวงสาธารณสุขดังต่อไปนี้

  • แยกห้องนอน และ ของใช้กับคนในบ้าน
  • สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งที่ออกจากห้อง
  • มีการเว้นระยะห่างจากผู้อื่นอย่างน้อย 1-2 เมตร
  • ล้างมือด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์เจล ทุกครั้งที่สัมผัสสิ่งของต่างๆ
  • งดรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น
  • รับประทานยาและปฏิบัติตัวตามที่แพทย์แนะนำ

2. ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง แต่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง หรือผู้ป่วยที่มีปอดอักเสบ

3. ผู้ป่วยที่มีโรครุนแรงมาก (ผู้ป่วยกลุ่มที่ 2 และ 3) จะได้รับการพิจารณาจากแพทย์ให้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และให้ยารักษาความเหมาะสม

ถ้าติดโควิด รักษาที่ไหนได้บ้าง?

สำหรับการรักษาโควิด-19 ควรได้รับการประเมินจากแพทย์ว่ามีอาการรุนแรงหรือเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะมีอาการแทรกซ้อนหรือไม่ โดยหลังพบว่าตัวเองติดโควิดแล้วต้องติดต่อ สถานพยาบาลใกล้บ้าน หรือ โรงพยาบาลที่มีสิทธิในการรักษา หรือสายด่วน สปสช. 1330 กด 14 หรือ 1669 เพื่อทำการคัดกรองเบื้องต้น โดยการรักษาจะถูกแบ่งออกเป็น 3 แบบ ตามกลุ่มผู้ป่วยดังนี้

โรงพยายาลสนาม

เป็นสถานที่ที่ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อให้ในการดูแลรักษาพยาบาลในกลุ่มผู้ป่วยโควิด-19 ที่ไม่แสดงอาการหรือมีอาการน้อย เป็นจุดวินิจฉัยดูแลรักษาแบบ One Stop Services กรณีความเสี่ยงสำหรับคนที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย เหมาะกับ ผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มสีเขียวที่มีอาการน้อยไปจนถึงผู้ป่วยที่ไม่แสดงอาการ แต่ไม่สะดวกที่จะรักษาตัวทีาบ้าน

Hospitel

เป็นสถานพยาบาลผู้ป่วยเฉพาะกิจ ที่มีการปรับเปลี่ยนโรงแรมให้เป็นสถานพยาบาลชั่วคราว ไว้สำหรับให้บริการผู้ป่วยที่ต้องการได้รับความสะดวกสบายและมีความเป็นส่วนตัวมากกว่าโรงพยาบาลสนาม มีไว้เพื่อรองรับสำหรับผู้ป่วยที่กรณีความเสี่ยงตำ่ หรือไม่มีโรคประจำตัว เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการน้อยหรือไม่รุนแรง

อ่านเพิ่มเติม : hospitel คืออะไร? ราคาเท่าไหร่? ในกรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง? อัพเดท 2565

Home Isolation

เป็นโครงการเฉพาะกิจอีกอย่างหนึ่ง ที่ใช้ในการรักษาตัวเองจากที่บ้าน เพื่อสังเกตอาการและควบคุมไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง สำหรับกรณีความเสี่ยงของผู้ป่วยจะได้รับการประเมินโดยแพทย์ ซึ่งแนวทางการดูแลตัวเองจากที่บ้านอย่างน้อย 14 วัน เหมาะกับผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการ หรือผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มสีเขียวเท่านั้น

สิ่งของที่ต้องเตรียมสำหรับการไปรักษาโควิด-19 มีอะไรบ้าง?

ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่ได้อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่มีอาการแทรกซ้อน ไม่มีโรคประจำตัวร้ายแรง และมีอาการของโรคเพียงเล็กน้อย หรือไม่แสดงอาการ (ผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว) ที่ไม่ต้องรักษาตัวแบบนอนโรงพยาบาล มีสิ่งที่ต้องเตรียมให้พร้อมเพื่อเดินทางไปรักษาตัวที่ โรงพยาบาลสนาม Hospital หรือ Home Isolation ดังนี้

สิ่งที่ผู้ป่วยโควิดต้องเตรียมสำหรับการเข้ารักษาแบบ Home Isolation

สำหรับผู้ป่วยที่ต้องทำการรักษาแบบ Home Isolation จะได้รับการดูแลผ่านระบบเทเลเมด ที่ช่วยให้ผู้ป่วยและบุคลากร ทางการแพทย์สามารถ อัพเดตอาการได้แบบ Real-timeโดยแพทย์และพยาบาลทุกวัน โดยมีสิ่งของที่ใช้สำหรับการักษาดังนี้

  1. ยาสามัญประจำบ้านเพื่อใช้รักษาตามอาการ
  2. ของใช้ส่วนตัวเช่น สบู่ แปรงฟัน ยาสีฟัน ผ้าเช็ดตัว ช้อนส้อม ที่ต้องใช้แยกจากผู้อื่น
  3. หน้ากากอนามัย และ แอลกอฮอล์เจล หรือ สเปย์แอลกอฮอล์
  4. ทิชชู่เปียก/แห้ง และ ถุงขยะ ไว้สำหรับผู้ป่วยโดยเฉพาะ
  5. ปรอทวัดไข้ และ ที่วัดออกซิเจนปลายนิ้วมือ

ผู้ป่วยจะต้องปฏิบัติตัวตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัดโดยมีการเว้นระยะห่างออกจากคนในบ้านอย่างน้อย 1-2 เมตร และ ไม่ออกจากบ้าน

สิ่งที่ผู้ป่วยโควิดต้องเตรียมสำหรับการเข้ารักษาแบบ โรงพยาบาลสนาม

โรงพยาบาลสนามเป็นศูนย์ที่จัดตั้งขึ้นในเขตชุมชน เป็นการดูแลรักษาผู้ป่วยโดยทีมเจ้าหน้าที่ ผู้ป่วยจะได้รับการประเมินภาวะสุขภาพ และ ติดตามอาการทุกวัน จนกว่าจะครบกำหนด หรือจนกว่าจะตรวจไม่พบเชื้อ โดยมีสิ่งของที่ผู้ป่วยจะต้องเตรียมมาดังนี้

  • บัตรประจำตัวประชาชนสำหรับยืนยันตัวตน
  • เสื้อผ้าที่ใส่สบาย และ ชุดนอน สำหรับการกักตัว 14 วัน
  • ของใช้ส่วนตัวที่จำเป็น เช่น สบู่ แปรงฟัน ยาสีฟัน ผ้าเช็ดตัว ช้อนส้อม ทิชชู่เปียก/แห้ง ผ้าอนามัย และ ยารักษาโรคประจำตัว(ถ้ามี)
  • ปลั๊กพ่วง แบตเตอรี่สำรอง สายชาร์ตแบต และ โทรศัพท์มือถือ
  • หนังสือ หูฟัง เกมส์กด หรือ อุปกรณ์แก้เบื่ออื่นๆ
  • อุปกรณ์อื่นๆเช่น ผ้าปิดตา ที่อุดหู เป็นต้น ขอที่โรงพยาบาลสนามจะเปิดไฟสว่างตลอดเวลาและมีคนอยู่รวมกันเป็นจำนวนมากอาจส่งเสียงรบกวนได้

สิ่งที่ไม่อนุญาตให้นำเข้ามาคือ ของมีค่า ของมีคม อุปกรณ์เล่นการพนัน อาหารและเครื่องดื่มทุกชนิด(รวมถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์)

สิ่งที่ผู้ป่วยโควิดต้องเตรียมสำหรับการเข้ารักษาแบบ hospital

สำหรับ Hospital เป็นโรงแรมที่ถูกนำมาใช้เป็นโรงพยาบาลชั่วคราว โดยผู้ป่วยจะได้รับการดูแลและติดตามอาการผ่านช่องทาง Line กับเจ้าหน้าที่ และบุคลการทางการแพทย์ โดยสามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

  • บัตรประจำตัวประชาชนสำหรับใช้ยืนยันตัวตน
  • เสื้อผ้าสำหรับการกักตัว 14 วัน (รวมถึงชุดชั้นใน)
  • โทรศัพท์และสายชาร์จ เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถติดต่อกับผู้ป่วยได้ตลอดเวลา
  • ของใช้ส่วนตัวเช่นสบู่ แปรงฟัน ยาสีฟัน ผ้าอนามัย และ ผงซักผ้า เป็นต้น
  • ยารักษาโรคประจำตัว ที่ต้องทานเป็นประจำ (ถ้ามี)
  • หน้ากากอนามัย และ แอลกอฮอล์เจล หรือ สเปย์แอลกอฮอล์
  • ปลั๊กพ่วงไว้สำหรับต่อไฟ (ในกรณีที่ต้องการใช้ไฟเพิ่ม)
  • หนังสือ หรือ คอมพิวเตอร์ไว้สำหรับการผ่อนคลายระหว่างการกักตัว
  • อาหารหรือขนมที่ชอบ ไว้สำหรับรองท้อง

สิ่งที่ไม่อนุญาตให้นำเข้ามาคือ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่ วัตถุที่เป็นอันตราย และไม่อนุญาตให้ญาติเข้ามาในพื้นที่ Hospitel

ช่วงรักษาตัวระหว่างติดโควิด มีค่าใช้จ่ายไหม?

สำหรับการรักษาโรคโควิด-19 หากมีอาการไม่รุนแรงรักษาแบบ Home Isolation หรือ รักษาแบบโรงพยาบาลสนาม สามารถใช้สิทธิการรักษาฟรี และ หากในกรณีที่มีอาการวิกฤตฉุกเฉินก็สามารถเข้ารับการรักษากับ โรงพยาบาลของรัฐตามสิทธิ์การรักษาได้ฟรี (สำหรับโรงพยาบาลเอกชนหากมีประกันสังคมหรือประกันสุขภาพก็สามารถเข้ารับบริการได้ฟรีเช่นกัน)

สิทธิประโยชน์ต่างๆ สำหรับผู้ติดโควิด มีอะไรบ้าง?

สำหรับผู้ป่วยโควิดบางคนอาจมีความกังวลเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล เพราะอาจจะยังไม่ทราบว่ามีสิทธิประโยชน์ต่างๆที่สามารถเข้ารับบริการได้ฟรีโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ซึ่งสิทธิประโยชน์ต่างๆ สำหรับผู้ติดโควิด มีดังนี้

  1. สิทธิประกันสังคม หากพบว่าติดเชื้อโควิดผู้ประกันตนสามารถทำการติดต่อกับโรงพยาบาลที่ผู้ประกันตนลงทะเบียนไว้เพื่อเข้ารับการรักษาได้ฟรี
  2. สิทธิประกันภัยโควิด สำหรับผู้ป่วยที่มีประกันโควิด สามารถติดต่อกับทางโรงพยาบาลที่มีคู่สัญญาเพื่อขอเข้ารับการรักษาได้ตามสิทธิการรักษาได้ทันที โดยจะได้รับการรักษาตามความคุ้มครองโดยไม่ต้องมีการสำรองจ่าย
  3. สิทธิบัตรทอง ผู้ป่วยที่มีสิทธิการรักษาด้วยบัตรทองสามารถติดต่อกับโรงพยาบาลของรัฐใกล้บ้าน หรือ โรงพยาบาลในเขตพื้นที่การรักษา เพื่อขอเข้ารับการรักษาได้ฟรีโดยไม่มีค่าใช้จ่าย

เมื่อติดโควิด สามารถเดินทางไปรักษาตัวด้วยวิธีไหนได้บ้าง

ผู้ป่วยที่มีการตรวจพบเชื้อโควิด-19 หากต้องการเดินทางไปโรงพยาบาล หรือสถานที่กักตัว เพื่อทำการรักษา แนะนำให้หลีกเลี่ยงการเดินทางด้วยรถสาธารณะ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อให้เป็นวงกว้าง โดยให้ใช้ความระมัดระวังในเรื่องของการเดินทาง แนะนำให้เดินทางด้วยตัวเองโดยใช้รถส่วนตัว ซึ่งถือเป็นวิธีที่ปลอดภัยที่สุด

หากผู้ป่วยไม่สามารถเดินทางด้วยตัวเองโดยใช้รถส่วนตัวได้แนะนำให้ใช้บริการแท็กซี่โควิด PocoCar หรือ รถรับส่งผู้ป่วยโควิดโดยเฉพาะ เพื่อความสะดวก รวดเร็ว และ เพื่อความปลอดภัยของคนใกล้ชิดและคนในสังคม

สรุป

เนื่องจากสถานะการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด ยังคงมีการตรวจพบเชื้ออย่างต่อเนื่อง ขอแนะนำให้ทุกท่านปฏิบัติตัวตามมาตรอย่างเคร่งครัด และมีการตรวจหาเชื้ออย่างเป็นประจำ โดยหากพบว่าเป็นผู้ป่วยติดเชื้อให้ทำการติดต่อไปยังโรงพยาบาลตามสิทธิการรักษา เพื่อทำการคัดกรองเบื่องต้นว่าท่านควรได้รับการรักษาแบบใด หากมีความจำเป็นต้องเดินทางไปรักษาตัวควรหลีกเลี่ยงการเดินทางด้วยรถสาธารณะ และควรใช้บริการรถแท็กซี่โควิด PocoCar หรือ รถรับส่งผู้ป่วยโควิดแทน