7/398 Vipawadee 19 Vipawadee Rangsit Road Chatuchak, Chatuchak Bangkok 10900
Always Open (24/7 Service)
รถรับส่งโควิด

5 วิธีการเดินทางเมื่อติดโควิด-19 แต่ละวิธีต่างกันอย่างไร เหมาะกับใครบ้าง?

สำหรับผู้ที่ทราบผลว่าตนเองติดเชื้อโควิด-19 หรือเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงสูง โดยหลักการแล้วควรกักตัวอยู่ที่บ้าน เว้นระยะห่าง เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อโดยไม่ตั้งใจ และรอคอยเจ้าหน้าที่ประสานงานส่งรถมารับ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ผู้ติดเชื้อและผู้ที่มีความเสี่ยงสูงเหล่านั้นอาจไม่สามารถรอคอยได้นานนัก อาจเพราะด้วยอาการที่ทรุดลง มีอาการแทรกซ้อนเข้ามา หรือที่บ้านมีข้อจำกัดไม่สามารถกักตัวได้ การเดินทางไปยังโรงพยาบาลหรือสถานที่กักตัวโดยเร็วที่สุดอาจเป็นทางเลือกที่จำเป็นกว่า

สำหรับผู้ที่มีญาติหรือคนใกล้ชิดติดเชื้อโควิด-19 หรือ ผู้ติดเชื้อที่ต้องการเดินทางไปโรงพยาบาล สามารถทำได้ เพียงแต่ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนการลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อไปยังผู้ขับรถหรือผู้ที่โดยสาร โดยวิธีการเดินทางอย่างปลอดภัย ที่เราจะแนะนำมี 5 วิธีดังนี้

1. การเดินทางโดยรถรับส่งของโรงพยาบาลหรือหน่วยงานภาครัฐ

ในบางโรงพยาบาลจะมีบริการรถรับส่งผู้ติดเชื้อของโรงพยาบาลมารับ เมื่อเราประสานงานเพื่อเข้ารับรักษาตัว หากทางโรงพยาบาลมีรถว่างก็สามารถจองคิวให้รถของทางโรงพยาบาลมารับได้ หรืออาจะประสานงานไปยังหน่วยงานของภาครัฐเพื่อขอความช่วยเหลือได้เช่นกัน

2. การเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว

ข้อปฏิบัติสำหรับผู้ที่มีญาติติดโควิด-19 หรือผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ต้องเดินทางไปเข้ารับการรักษาที่ “โรงพยาบาล” ด้วยรถยนต์ส่วนตัว ควรปฏิบัติดังนี้

  1. แจ้งไปยังสายด่วน 1669 ศูนย์การแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (ศพฉ.) เพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับโรคโควิด-19 และประสานงานกับทางโรงพยาบาลหรือ Hospital ให้เรียบร้อย
  2. เตรียมเอกสารผลการตรวจ, บัตรประชาชน และเครื่องใช้ต่างๆ ให้พร้อม
  3. ทำฉากกั้นระหว่างคนขับและผู้ติดเชื้อ เพื่อเว้นระยะห่างต่อกันให้มากที่สุด
  4. คนขับรถและผู้ติดเชื้อ ให้นั่งทแยงมุม คนละฝั่งของตัวรถ พยายามรักษาระยะห่างให้มากเท่าที่จะทำได้ ซึ่งคนขับรถรวมถึงผู้โดยสารที่เดินทางไปส่งผู้ติดเชื้อจะกลายเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงสูงทันที เพราะอยู่ใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อโควิด-19 ดังนั้น หากเป็นไปได้ให้ลดจำนวนผู้โดยสารในรถให้เหลือเพียง 2 คน ได้แก่ คนขับและผู้ติดเชื้อเท่านั้น
  5. ปิดระบบปรับอากาศแล้วเปิดกระจกหน้าต่างแทน เพื่อลดความเสี่ยงจากระบบไหลเวียนของอากาศภายในรถ
  6. สำรวจเส้นทางก่อนออกเดินทาง แนะนำให้เลือกใช้เส้นที่ใช้เวลาในการเดินทางให้น้อยที่สุด และไม่ควรเกิน 30 นาที หลีกเลี่ยงเส้นทางหรือจุดที่มีรถติด เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อหรือแพร่กระจายเชื้อ
  7. ทั้งคนขับและผู้ติดเชื้อ ต้องสวมหน้ากากอนามัน 2 ชั้น โดยใส่หน้ากากอนามัยไว้ด้านใน สวมทับด้วยหน้ากากผ้าไว้ด้านนอก เพื่อลดโอกาสในการแพร่กระจายและการรับเอาเชื้อโรคผ่านระบบหายใจ
  8. ล้างมือด้วยสเปรย์แอลกอฮอล์ และเช็ดบริเวณที่ผู้ติดเชื้อสัมผัสด้วยแอลกอฮอล์
  9. ระหว่างเดินทางไปยังจุดหมายปลายทาง แนะนำให้โทรประสานงานกับทางเจ้าหน้าที่เป็นระยะ
  10. หลังจากส่งผู้ติดเชื้อเรียบร้อยแล้ว ควรทำความสะอาดภายในและภายนอกของตัวรถ รวมถึงการฉีดพ่นสเปรย์ฆ่าเชื้อ หรือการอบโอโซนฆ่าเชื้อภายในรถ แล้วจอดรถตากแดดให้แห้งสะอาด เพื่อความมั่นใจว่าจะไม่มีจุดไหนที่มีเชื้อโรคสะสมอยู่ หากนำรถเข้าศูนย์บริการเพื่อทำความสะอาด ควรแจ้งทางสถานบริการก่อนเข้ารับบริการว่าได้มีการรับส่งผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพื่อให้มีการเตรียมการป้องกันให้รัดกุมยิ่งขึ้น

3. การเดินทางโดยรถรับส่งของเอกชน (อาสาสมัคร)

ในส่วนของรถรับส่งของเอกชนส่วนใหญ่จะเป็นรถอาสาสมัครที่เข้ามาให้ความช่วยเหลือ ซึ่งตัวรถจะได้รับการดัดแปลงให้สามารถรับส่งผู้ติดเชื้อได้ โดยมากมักเป็นรถกระบะที่ไม่มีระบบปรับอากาศ เพื่อลดความเสี่ยงที่จะแพร่เชื้อผ่านระบบไหลเวียนในอากาศของตัวรถ และทีมงานจะมีอุปกรณ์ป้องกันต่างๆ เพื่อเข้าช่วยเหลือ เราสามารถติดต่อประสานงานไปยังทีมรถรับส่งเอกชนเหล่านั้นได้เช่นกัน เพียงแต่อาจจะต้องใช้ระยะเวลารอคิวพอสมควรเพราะหน่วยงานเอกชนอาจมีข้อจำกัดในส่วนของรถและบุคลากร

4. การเดินทางโดยรถแท็กซี่สำหรับรับส่งผู้ป่วยโควิด-19 (มีค่าบริการ)

เราจะเริ่มเห็นว่ามีรถขอทางเอกชน หรือโครงการอาสาแท็กซี่โควิด เข้ามาช่วยรับส่งผู้ติดเชื้อโควิด-19 ไปยังโรงพยาบาลหรือสถานที่กักตัว โดยมีการคิดค่าบริการ ซึ่งจะเป็นการดัดแปลงรถแท็กซี่ โดยอุปกรณ์หลักที่ใช้ในการป้องกันจะเป็นแผ่นกั้นพลาสติกใสที่นำมาทำเป็นฉากกั้นระหว่างผู้ป่วยและคนขับ ซึ่งด้านหน้าจะเปิดระบบปรับอากาศ (แอร์) ส่วนด้านหลังจะเป็นผู้ป่วยจะเปิดกระจกรถลง เพื่อให้มีอากาศถ่ายเทสะดวก และมีการฝึกอบรมเรียนรู้การทำความสะอาดรถ การฆ่าเชื้อ และการป้องกันตัวเอง มีการทดสอบระบบความปลอดภัย

5. การเดินทางโดยรถรับส่งของเอกชน ที่ออกแบบมาเพื่อการรับส่งผู้ติดเชื้อโควิด-19 โดยเฉพาะ

จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ยังคงมีอยู่และไม่มีทีท่าว่าจะหมดไปง่ายๆ ทำให้บริษัทเอกชนได้เริ่มเข้ามาเปิดให้บริการเพื่อรองรับความต้องการเดินทางของผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19 หรือกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงสูงซึ่งจำเป็นจะต้องเดินทางไปรับการตรวจที่โรงพยาบาล “PocoCar” (โปะโกะคาร์) รถรับส่งผู้ป่วยโควิดที่ออกแบบพิเศษเพื่อผู้ติดเชื้อโควิด-19 หรือผู้ที่มีความเสี่ยงสูง โดยเฉพาะ

PocoCar ถูกออกแบบโดยยึดหลักความสะอาดปลอดเชื้อ ปลอดภัย ทั้งภายในและภายนอก โดยห้องโดยสารได้มีการแบ่งแยกจากห้องพนักงานขับรถอย่างชัดเจนและไม่ใช้ระบบปรับอากาศร่วมกัน เพื่อลดการแพร่เชื้อทางอากาศ ลดการสัมผัส เว้นระยะห่าง ให้โอกาสการติดเชื้อเป็น 0 ด้วยประตูห้องโดยสารอัตโนมัติ Touch Less ประตูอัตโนมัติที่เปิดได้โดยไม่ต้องสัมผัสช่วยลดการสัมผัสประตู ลดโอกาสการแพร่เชื้อโรคจากการสัมผัสประตู มีระบบ Intercom ที่ถูกติดตั้งไว้ทั้งภายในและภายนอกตัวรถ เพื่อลดการสัมผัสและเว้นระยะห่างของพนักงานขับรถและผู้โดยสารให้มากที่สุด

PocoCar สามารถเดินทางพร้อมกันได้ถึง 6 คน พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกและความบันเทิง ด้วย Apple TV รุ่นล่าสุด, ที่ชาร์จมือถือระบบ Fast Charging (ชาร์จเร็ว) ในทุกที่นั่ง และFree Wi-Fi ตลอดการเดินทาง ให้บริการด้วยทีมงานมืออาชีพคอยดูแลตลอดการเดินทาง ซึ่งพนักงานขับรถ PocoCar ทุกคนได้รับการฉีดวัคซีนป้องกัน COVID ครบ 3 เข็ม พร้อมออกไปปฏิบัติภารกิจรับส่งผู้ป่วยโควิด-19 ให้ถึงจุดหมายปลายทางอย่างปลอดภัย

ไม่ว่าคุณจะเลือกใช้วิธีการเดินทางแบบไหน สิ่งสำคัญที่ห้ามลืม คือ ต้องสวมหน้ากากอนามัน 2 ชั้น โดยใส่หน้ากากอนามัยไว้ด้านใน สวมทับด้วยหน้ากากผ้าไว้ด้านนอก และการหมั่นล้างมือด้วยสเปรย์แอลกอฮอล์ และเช็ดอุปกรณ์ต่างๆ ให้สะอาดอยู่เสมอ เพื่อช่วยลดโอกาสการติดเชื้อให้น้อยลง