7/398 Vipawadee 19 Vipawadee Rangsit Road Chatuchak, Chatuchak Bangkok 10900
Always Open (24/7 Service)
รถรับส่งโควิด

4 วิธีรับมือ เมื่อติดโควิด ต้องทำอย่างไรบ้าง?

เป็นเวลาเกือบ 2 ปี ที่ผู้คนทั่วโลกต่างต้องเผชิญกับโรคระบาดครั้งร้ายแรงที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ เชื้อไวรัสโควิด-19 (Covid-19) แม้สถานการณ์จะเริ่มคลี่คลายลงไปบ้างแล้ว จากการที่ประชากรส่วนใหญ่ทยอยเข้ารับการฉีดวัคซีนที่ช่วยยับยั้งความรุนแรงรวมถึงช่วยลดอัตราการติดเชื้อ-เสียชีวิตให้ต่ำลง แต่เราก็ยังไม่สามารถวางใจได้ เพราะยังมีตัวเลขผู้ติดเชื้อพุ่งสูงขึ้นเป็นระลอกทั้งในต่างประเทศและในประเทศไทย แต่เราต้องเรียนรู้ที่จะเตรียมตัวเพื่อให้พร้อมรับมืออย่างมีสติในทุกสถานการณ์ หากคุณหรือคนใกล้ชิดต้องเผชิญหน้ากับเชื้อไวรัสโควิด-19 ต้องทำอย่างไร เรามีคำแนะนำแบบ step by step ให้คุณได้นำไปใช้

1. สังเกตอาการโควิด-19 เราติดรึยัง?

อาการของผู้ติดเชื้อโควิด-19 จะแบ่งออกเป็น 3 ระดับสี ได้แก่ สีเขียว – ผู้ติดเชื้อที่ยังไม่แสดงอาการ, สีส้ม – ผู้ป่วยเริ่มมีอาการเล็กน้อย และสีแดง – ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง ซึ่งถ้าหากเราหมั่นสังเกตกอการและตรวจพบตั้งแต่ยังเป็นอาการสีเขียว จะทำให้เราได้รับการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ ลดโอกาสแพร่เชื้อลง โดยเราสามารถสังเกตอาการได้ดังนี้

  1. มีไข้หรือตัวร้อนมากกว่า 37.5 องศาเซลเซียส ติดต่อกัน 48 ชั่วโมง
  2. มีอาการไอ เจ็บคอ ทั้งไอแห้งและไอมีเสมหะ
  3. หายใจไม่สะดวก หายใจเร็ว ไอแล้วรู้สึกเหนื่อย
  4. มีน้ำมูกไหล
  5. จมูกไม่ได้กลิ่น หรือ ลิ้นไม่รับรส
  6. มีอาการปวดท้อง อาเจียน หรือท้องเสียมากกว่า 3 ครั้ง / วัน
  7. มีผื่นขึ้น, ตาแดง
  8. เดินทางไปในพื้นที่เสี่ยง
  9. มีประวัติใกล้ชิดหรือสัมผัสกับผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในรอบ 14 วัน

สำหรับใครที่มีอาการที่กล่าวมาด้านบนร่วมกันหลายอาการให้สงสัยก่อนว่า อาจเสี่ยงที่จะติดเชื้อโควิด-19 ได้ หากไม่แน่ใจสามารถซื้อชุดตรวจโควิด ATK (Antigen Test Kit) ที่มีวางจำหน่ายในร้านขายยาใกล้บ้านมาตรวจด้วยตนเองก่อน แต่ถ้าหากตรวจด้วยชุดตรวจโควิด ATKแล้วพบว่าผลเป็นบวก (Positive) ให้รีบแยกตัวจากผู้อื่น และแจ้งคนใกล้ชิดเพื่อแจ้งความเสี่ยงทันที จากนั้นให้รีบติดต่อขอรับการตรวจโควิด-19จากโรงพยาบาลของรัฐและเอกชนเพื่อยืนยันผลการตรวจที่แน่ชัดอีกครั้ง

2. เมื่อพบว่าตัวเองติดโควิด-19 ทำยังไงต่อ?

  1. แยกกักตัวและสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา เพื่อไม่ให้เชื้อแพร่กระจายสู่คนที่ใกล้ชิด พร้อมทั้งแจ้งความเสี่ยงให้กับผู้คนที่อยู่รอบข้าง เพื่อให้ทุกคนระมัดระวังตัวและเข้ารับการตรวจหากมีอาการเสี่ยง
  2. ติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเข้ารับการรักษา

– สำนักงานหลักประกันสุขภาพ Call center 1330

– กรมการแพทย์ Call center 1668

– สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ Call center 1669

ซึ่งเจ้าหน้าที่จะประสานเข้ารับการรักษาตามอาการ ดังนี้

– ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงจะมีการประสานงานเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล

– ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรงประสานงานเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสนาม

– ผู้ติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการ เข้ารับการกักตัวและเฝ้าระวังอาการในHospitel

  1. เตรียมเอกสารที่ต้องใช้ ได้แก่ บัตรประชาชน, ผลตรวจโควิด-19
  2. เตรียมของใช้และอุปกรณ์ให้พร้อม หากต้องเข้ารับการกักตัวที่ Hospitel หรือ โรงพยาบาลสนาม อาทิเช่น

– เสื้อผ้า จำนวน 4-5 ชุด หรือพอดีกับจำนวนที่เข้าพัก 14 วัน เน้นเสื้อผ้าที่สวมใส่ง่าย

– ของใช้ในกิจวัตรประจำวัน เช่น สบู่ แชมพู โฟมล้างหน้า แปรงสีฟัน ผ้าอนามัย ฯลฯ

– ยารักษาโรคประจำตัว

– โทรศัพท์มือถือ และสายชาร์จ

อ่านเพิ่มเติม : ติดโควิด ทํายังไง? สรุปเข้าใจง่าย อัพเดทล่าสุด 2565

3. หากติดโควิด-19 เราจะเดินทางยังไงให้ปลอดภัยไม่แพร่เชื้อ

ในกรณีที่ตรวจพบว่าเป็นผู้ป่วยโควิด-19 และต้องเข้ารับการกักตัวใน Hospitel หรือ โรงพยาบาลสนาม โดยส่วนใหญ่เจ้าหน้าที่จะแนะนำให้รอรถของทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเดินทางไปรับตัว ซึ่งไม่แนะนำให้ขับรถไปเอง เพราะเชื้อไวรัสโควิด-19 อาจฟุ้งกระจายติดอยู่ภายในรถ หากไม่ได้เข้ารับการฆ่าเชื้อโรคและทำความสะอาดอย่างถูกวิธี จะกลายเป็นการแพร่เชื้อได้อีก ผู้ป่วยส่วนใหญ่จึงมักรอรถของทางหน่วยงานเข้ามารับ หรือติดต่อประสานงานกับรถรับส่งผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19 โดยเฉพาะ

รถรับส่งผู้ป่วยโควิด-19 ควรเป็นรถที่มีกระจกกั้นระหว่างผู้ติดเชื้อและคนขับ เพราะการใช้เพียงแผ่นพลาสติกกั้นปิดรอยต่อต่างๆ ด้วยเทปกาวอาจไม่ปลอดภัยเพียงพอ และที่สำคัญต้องแยกระบบทำความเย็นหรือระบบแอร์ ออกจากกันโดยเด็ดขาด เพื่อความปลอดภัยของทั้งตัวคนขับและผู้ติดเชื้อ ทำให้รถรับส่งผู้ป่วยโควิด-19 ต้องเป็นรถที่ได้รับการออกแบบทำระบบแยกโดยเฉพาะ เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ หรือรับเชื้อระหว่างการเดินทางไปยังสถานพยาบาล หรือ สถานที่กักตัว

อ่านเพิ่มเติม : 5 วิธีการเดินทางเมื่อติดโควิด-19 แต่ละวิธีต่างกันอย่างไร เหมาะกับใครบ้าง?

4. การหารถรับส่งผู้ป่วยโควิด

เพราะเราเข้าใจทุกความห่วงใย ‘Poco’ เปิดตัว ‘PocoCar’ รถรับส่งผู้ป่วยโควิด ค่าบริการย่อมเยาเอาใจผู้ใช้บริการ ให้บริการด้วยรถรับส่งที่ออกแบบพิเศษเพื่อการรับส่งผู้ป่วยโควิด-19 โดยเฉพาะ พร้อมระบบทำความสะอาดโดยอัตโนมัติสามารถพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อ และอบโอโซนได้โดยอัตโนมัติ เพียบพร้อมด้วยอุปกรณ์และฟังก์ชั่นอำนวยความสะดวกทั้งภายในและภายนอก โดยยึดหลักความสะอาดปลอดเชื้อ ปลอดภัย ทั้งภายในและภายนอก ด้วยประตูห้องโดยแบบสารอัตโนมัติ Touch Less ลดการสัมผัส

ภายในตัวรถ PocoCar กว้างขวาง รองรับได้ถึง 6 ที่นั่ง พร้อมด้วยระบบทำความเย็นแยกโซน แบ่งแยกระหว่างห้องพนักงานขับรถและห้องโดยสารอย่างชัดเจน เพื่อโอกาสการติดเชื้อระหว่างพนักงานขับรถกับผู้โดยสารให้เป็น 0 และสามารถสื่อสารกับพนักงานขับรถได้อย่างปลอดภัยด้วยระบบ Intercom ที่ติดตั้งไว้ทั้งในห้องโดยสาร (ของผู้ป่วย) และข้างตัวรถนอกห้องโดยสาร เพื่อลดการสัมผัสและเว้นระยะห่างของพนักงานขับรถและผู้โดยสารให้มากที่สุด เพิ่มความผ่อนคลายด้วยสิ่งอำนวยความสะดวก อาทิเช่น Free Wi-Fi, Apple TV รุ่นล่าสุด, ช่องชาร์จมือถือบนรถ ฯลฯ และระบบพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อและอบโอโซนในห้องโดยสารอัตโนมัติหลังให้บริการในทุกเที่ยววิ่ง มั่นใจว่าเชื้อโควิด-19 จะไม่มีหลงเหลืออยู่ในทุกตารางนิ้ว

เพิ่มมั่นใจในความปลอดภัยให้กับคนข้างหลัง ด้วยระบบ GPS ติดตามรถยนต์ที่เชื่อมต่อกับกรมขนส่งทางบก เพื่อให้ญาติๆ และเพื่อนๆ ของผู้ป่วยสามารถติดตามตัวรถโดยสารผ่านแอพพลิเคชั่น DLT GPS ของกรมขนส่งทางบกได้แบบเรียลไทม์ โดยพนักงานขับรถทุกคน มีความเป็นมืออาชีพที่ชำนาญเส้นทาง มีใบขับขี่สาธารณะ และได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันCOVID ครบสองเข็มแล้ว พร้อมที่จะให้ปฏิบัติภารกิจรับส่งผู้ป่วยโควิด-19 ให้ถึงมือแพทย์อย่างรวดเร็ว ปลอดภัย และปลอดเชื้อ


ไม่ว่าคุณจะอยู่ในสถานการณ์ไหน เวลาใด ให้ PocoCar (โปโกะ คาร์) รถรับส่งปลอดโควิดเป็นเพื่อนร่วมเดินทางไปส่งคุณอย่างรวดเร็วและปลอดภัยตลอด 24 ชั่วโมง