เมื่อผลตรวจโควิด-19 (Covid-19) ออกมาเป็น Positive หรือ เราติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สิ่งแรกที่เราควรทำคือ เริ่มการกักตัวและแจ้งให้คนรอบข้างรับทราบทันที และรีบเตรียม 8 สิ่งนี้ให้พร้อม
1. เตรียมเอกสารที่ต้องใช้
- บัตรประจำตัวประชาชน ใช้ในการยืนยันตัวตน และการขอรับสิทธิ์ต่างๆ ในการรักษา
- ผลตรวจโควิด-19 จากสถานพยาบาลที่เชื่อถือได้ เพราะในบางครั้งชุดตรวจโควิดด้วยตนเองหรือ ATK (Antigen Test Kit) อาจมีความคลาดเคลื่อนเกิดขึ้น เราควรเข้ารับการตรวจยืนยันจากทางโรงพยาบาลอีกครั้ง
2. เตรียมสถานที่กักตัว หรือ สถานที่รักษาตัว
ในกรณีที่เราเข้ารับการตรวจกับทางโรงพยาบาลและทราบผลทันทีการตรวจทันที ทางโรงพยาบาลจะรับตัวผู้ป่วยเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล หรือส่งตัวไปที่โรงพยาบาลสนาม หรือ Hospitel ที่อยู่ในเครือข่ายของโรงพยาบาลนั้นๆ ซึ่งผู้ป่วยและญาติไม่สามารถระบุเองได้ว่า จะเข้ารับการรักษาหรือกักตัวที่โรงพยาบาลสนามหรือ Hospitel ที่ไหน ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของทางโรงพยาบาล
อ่านเพิ่มเติม : hospitel คืออะไร? ราคาเท่าไหร่? ในกรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง? อัพเดท 2565
ในกรณีที่เราตรวจด้วยตนเองหรือเข้ารับการตรวจที่ห้องปฏิบัติการของเอกชน หรืออยู่ระหว่างการกักตัว 14 วัน แล้วได้รับแจ้งผลการตรวจว่าติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เราจะต้องประสานงานเพื่อเข้ารับการรักษาเอง โดยทำได้ 2 ทางเลือก ดังนี้
2.1. เข้ารับการรักษาโควิดฟรี
โดยให้เราประสานงานติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเข้ารับการรักษา ได้แก่ สำนักงานหลักประกันสุขภาพ Call center 1330, กรมการแพทย์ Call center 1668 และสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ Call center 1669
เจ้าหน้าที่จะประสานงานและคัดกรองผู้ป่วยตามอาการ โดยผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงจะมีการประสานงานเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่กำหนดไว้ ส่วนผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรงประสานงานเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสนาม และ ผู้ติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการ เข้ารับการกักตัวและเฝ้าระวังอาการใน Hospitel (ในกรณีที่เตียงในโรงพยาบาลมีจำนวนไม่เพียงพอ) ซึ่งเราจะต้องแจ้งประวัติและสิทธิต่างๆ อาทิ สิทธิประกันชีวิต, ประกันสุขภาพ, ประกันวินาศภัย ให้ชัดเจน เพื่อให้ได้รับการรักษาตามสิทธิที่มี
2.2 เข้ารับการรักษาโควิดกับโรงพยาบาลเอกชน (ออกค่าใช้จ่ายเอง)
ผู้ป่วยหรือญาติสามารถประสานงานติดต่อไปยังโรงพยาบาลเอกชน เพื่อสอบถามและขอให้จัดส่งรถพยาบาลมารับ หรือจัดหารถสำหรับรับส่งผู้ป่วยหรือผู้มีความเสี่ยงสูงโดยเฉพาะ ให้มารับเพื่อเดินทางไปยังโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด โดยระบุกับทางโรงพยาบาลให้ชัดเจนว่า เราต้องการเข้ารับการรักษาโรคโควิด-19 ก่อนจะเดินทางไปยังโรงพยาบาล เพื่อป้องกันการสื่อสารที่ผิดพลาด
แจ้งประวัติและสิทธิต่างๆ อาทิ สิทธิประกันชีวิต, ประกันสุขภาพ, ประกันวินาศภัยให้ชัดเจน และ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาตามวงเงินในประกันวินาศภัยหรือประกันสุขภาพที่ตนเองมี ซึ่งในกรณีที่เป็นผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรงหรือไม่แสดงอาการ ก็อาจถูกส่งตัวไปยังโรงพยาบาลสนามหรือ Hospital หากทางโรงพยาบาลมีจำนวนเตียงที่จำกัด
3. เตรียมหน้ากากอนามัย เจลแอลกอฮอล์ สเปรย์แอลกอฮอล์
เตรียมอุปกรณ์ป้องกัน อย่างหน้ากากอนามัย เจลแอลกอฮอล์ สเปรย์แอลกอฮอล์ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อจากผู้ป่วย และป้องกันผู้มีความเสี่ยงสูงรับเชื้อไวรัสระหว่างการเดินทาง และอย่าลืมเว้นระยะห่างเพื่อเป็นการป้องกันทั้งตนเองและผู้อื่น
4. เตรียมเสื้อผ้า สำหรับ 14 วัน
เตรียมเสื้อผ้าสะอาดที่สวมใส่สบาย ไม่ต่ำกว่า 4-5 ชุด หรืออาจะเตรียมให้เพียงพอสำหรับ 14 วัน เน้นที่เสื้อผ้าที่สวมใส่และทำความสะอาดง่าย ไม่ต้องรีด
5. เตรียมของใช้ส่วนตัวและยากรักษาโรคประจำตัว
ของใช้ในกิจวัตรประจำวัน เช่น สบู่ แชมพู โฟมล้างหน้า แปรงสีฟัน ผ้าอนามัย ฯลฯ ให้เพียงพอสำหรับใช้ 14 วัน และไม่ควรนำของใช้ส่วนตัวเยอะเกินไป แนะนำให้นำไปเฉพาะของที่จำเป็น โดยเฉพาะคนที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสนามที่เปิดโล่ง การพกของใช้จำนวนมากไปอาจทำตกหล่นสูญหาย ซึ่งผู้ที่เข้ารับการรักษาตัวหลายคน หลังจากที่หายดีและเดินทางกลับบ้านแล้ว มักจะทิ้งของใช้เหล่านั้นไปเพราะเกรงว่าอาจจะติดเอาเชื้อโรคกลับมา
หากมียารักษาโรคประจำตัวควรบรรจุในซองยาที่มีการจ่าหน้าและรายละเอียดที่ชัดเจน และแจ้งแก่เจ้าหน้าที่ที่ดูแลว่าเรามาโรคประจำตัวอะไรบ้าง
6. เตรียมโทรศัพท์มือถือและสายชาร์จให้พร้อม
โทรศัพท์มือถือ จัดว่าเป็นอุปกรณ์สำคัญที่นอกจากจะใช้ในการติดต่อสื่อสารกับครอบครัวแล้ว ยังใช้ในการติดต่อสื่อสารกับเจ้าหน้าที่ประจำสถานที่ดูแล ควรเตรียมอุปกรณ์และสายชาร์จไปให้พร้อม
7. เตรียมคอมพิวเตอร์ หรือหนังสือไปด้วย
การกักตัว 14 วัน หากใครกลัวเบื่ออาจเตรียมอุปกรณ์สำหรับความบันเทิงที่ไม่รบกวนผู้อื่นเพื่อใช้ระหว่างการรักษาตัวติดมือไปด้วย
8. เตรียมรถรับส่งปลอดเชื้อ
ในกรณีที่ไม่มีรถจากทางโรงพยาบาลมารับ หรือไม่สามารถรอคิวรถรับส่งได้ แนะนำให้เลือกใช้ บริการรถรับส่งผู้ป่วยโควิด ที่ออกแบบมาเพื่อการรับส่งโดยเฉพาะ ไม่ควรขับรถไปเอง เพราะอาจไม่ปลอดภัยจากเชื้อโรคที่ตกค้างอยู่ในตัวรถ
ซึ่งในปัจจุบัน Poco (โปะโกะ) ได้เปิดตัว PocoCar (โปะโกะคาร์) ออกแบบมาเพื่อรับส่งผู้ติดเชื้อโดยเฉพาะ สามารถเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19 หรือผู้ที่มีความเสี่ยงสูงไปยังโรงพยาบาลหรือสถานที่กักตัวได้สูงสุดถึง 6 ที่นั่ง ให้คุณมั่นในในความปลอดภัยด้วยห้องโดยสารที่มีการแบ่งแยกจากห้องพนักงานขับรถอย่างชัดเจน ใช้ระบบปรับอากาศแยกกัน เพื่อลดการแพร่เชื้อทางอากาศ ลดโอกาสในการติดเชื้อระหว่างพนักงานขับรถกับผู้โดยสารให้เป็น 0 ด้วยระบบ Intercom ที่ถูกติดตั้งไว้ทั้งภายในและภายนอกตัวรถ เพื่อลดการสัมผัสและเว้นระยะห่างของพนักงานขับรถและผู้โดยสารให้มากที่สุด และยังมีประตูห้องโดยสารอัตโนมัติ Touch Less ประตูอัตโนมัติที่เปิดได้โดยไม่ต้องสัมผัสช่วยลดการสัมผัสประตู ลดโอกาสการแพร่เชื้อโรคจากการสัมผัสประตู เพิ่มอุ่นใจให้กับคนข้างหลังด้วยระบบ CCTV และระบบ GPS ติดตามรถยนต์ที่เชื่อมต่อกับกรมขนส่งทางบก เพื่อให้ญาติและเพื่อนๆ ของผู้ป่วยสามารถติดตามรถรับส่ง PocoCar ผ่านแอพพลิเคชั่น DLT GPS ของกรมขนส่งทางบกได้แบบเรียลไทม์ ( อ่านต่อเพิ่มเติม เจาะลึก 5 ระบบเด่นในรับส่งผู้ป่วยโควิด ของ PocoCar ดีอย่างไร? )
PocoCar ให้บริการด้วยทีมงานมืออาชีพ พนักงานขับรถของ PocoCar ทุกคนมีใบขับขี่สาธารณะ ที่ชำนาญเส้นทาง ผ่านการอบรมอย่างเข้มงวด และได้รับการฉีดวัคซีนป้องกัน COVID ครบ 3 เข็มเรียบร้อย จึงพร้อมที่จะออกไปปฏิบัติภารกิจรับส่งผู้ป่วยโควิด-19 ถึงจุดหมายปลายทางอย่างปลอดภัย
9. เตรียมใจให้พร้อม
การเดินทางเพื่อเข้ารับการรักษาตัว หรือ กักตัว จะต้องใช้ความอดทนเพื่ออยู่นิ่งๆ ในสถานที่ที่จัดไว้ให้ตลอดทั้ง 14 วัน ทำให้หลายคนรู้สึกไม่สบายใจ การเตรียมใจให้พร้อมจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะการเข้ารับการรักษายิ่งทำได้เร็วเท่าไหร่ ก็ยิ่งหายเร็วขึ้นเท่านั้น และการกักตัว 14 วัน แม้จะไม่ตรวจพบเชื้อก็ไม่ใช่เรื่องแย่ ผู้มีความเสี่ยงสูงที่เข้ารับการกักตัวไม่ควรโทษตัวเอง เพราะการกักตัวเป็นการรับผิดชอบต่อตัวเองและสังคม เพื่อให้คนรอบตัวและคนที่เรารักปลอดภัยจากเชื้อโควิด-19
PocoCar อยากให้ทุกคนรู้ว่า คุณไม่ได้สู้อยู่เพียงลำพัง PocoCar จะเป็นอีกหนึ่งสะพานที่พาคุณไปส่งให้ถึงมือคุณหมอได้เร็วขึ้น เราจะคอยจับมือคนไทยทุกคนฝ่าวิกฤตโรคระบาดโควิด-19 ไปด้วยกัน